วิธีทำ นาเกลือ

เกลือสมุทร เกลืออุปโภคบริโภค

การเก็บเกลือ หรือรื้อเกลือ ส่วนมากทำในตอนเช้าหรือตอนเย็น เพราะอากาศไม่ร้อน นาปลงที่จะรื้อเกลือได้จะต้องมีน้ำขังให้มากเพราะจะช่วยล้างเกลือ ชาวนาจะใช้ไม้รุนซึ่งทำด้วยโคนไม้ไผ่ หรือไม้กระบอกผ่าซีก ยาวประมาณครึ่งเมตรใช้ไม้รวกเป็นด้ามยาวประมาณ 2 เมตร เกลือจะแตกแยกออกเป็นเมล็ดเกลือ นา 1 กระทง จะชักเกลือเป็นแถวได้ประมาณ 5 - 15 แถว และกระต่อมเกลือให้เป็นกอง ๆ เหมือนเจดีย์ แถวหนึ่งประมาณ 12-18 กอง แล้วปล่อยน้ำในนาออกสู่ลำกระโดงอาจนำมาใช้ปลงเกลือได้อีก เมื่อไขน้ำออกหมดแล้วให้ทิ้งไว้ประมาณครึ่งวัน หรือ 1 วัน เพื่อให้เกลือแห้งมีความชื้นน้อย การหาบเกลือใช้แรงงานคนหาบด้วยบุ้งกี๋เก็บเกลือไว้ในฉาง อาชีพทำนาเกลือเป็นอาชีพที่รัฐบาลไทยสงวนไว้สำหรับคนไทย จังหวัดสมุทรสาครเริ่มทำอย่างจริงจังประมาณ พุทธศักราช 2478 โดยการนำของ ขุนสมุทรมณีรัตน์

การทำนาเกลือ

การทำนาเกลือมีกรรมวิธีเป็นขั้นตอนประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. นาปลง เป็นนาขั้นตอนสุดท้าย ตากน้ำเค็มไว้ประมาณ วันมี่netตาย วัน เมื่อเริ่มตกผลึกเป็นเกลือหนาประมาณ 9 นิ้ว ก็จะเริ่ม รื้อเกลือ โดยใช้ "คฑารื้อ" แซะให้เกลือแตกออกจากกันแล้วใช้ "คฑาแถว" ชักลากเกลือมากองรวมกันเป็นแถว ๆ จากนั้นใช้ "คฑาสุ้ม" โกยเกลือมารวมเป็นกอง ๆ เหมือนเจดีย์ทราย เพื่อให้เกลือแห้งน้ำ จากนั้นจะหาบเกลือลงเรือบรรทุกล่องไปตาม "แพรก" หรือคลองซอยเล็ก ๆ แล้วหาบขึ้นไปเก็บไว้ในลานเกลือหรือฉางเกลือรอการจำหน่ายต่อไป

2. นาเชื้อ เป็นที่สำหรับรอให้เกลือตกผลึก ใช้สำหรับเก็บน้ำทะเลเพื่อป้องกันให้นาปลง บางครั้งถ้าเกลือราคาดี อาจใช้นาเกลือทำเกลือทำเกลือเหมือนนาปลง แต่ต้องเสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าแรงในการหาบเกลือเก็บไว้ในฉาง เนื่องจากอยู่ไกลจากลำคลอง

3. นาตาก นาสำหรับตากแดดที่จะได้ผลิตผลจากน้ำทะเล คือ เกลือสมุทร จะอยู่จดชายทะเล มีขนาดใหญ่มาก ตั้งระหัดเพื่อใช้วิดน้ำทะเลจากรางน้ำทะเลเข้านาตาก

ชาวนาเกลือจะเริ่มทำเกลือประมาณเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายน ซึ่งเป็นปลายฤดูฝนเพราะต้องอาศัยน้ำฝนช่วยในการละเลงนา ปรับระดับให้เสมอกันโดยใช้ลูกกลิ้งซึ่งทำด้วยไม้ยาวประมาณ 2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร หนักประมาณ 100 กิโลกรัม ปัจจุบันนำเครื่องจักรเข้ามาช่วย นาปลงแต่ละกระทงจะต้องกลิ้งประมาณ 4-5 วัน การไขน้ำเข้าสู่นาปลงจะไขตอนบ่าย พื้นนาจะไม่แตกระแหง น้ำที่ไขเข้าต้องสูงกว่าพื้นนาประมาณ 4-5 นิ้ว เพื่อให้เกลืกตกผลึกช้า เม็ดเกลือจะแน่นไม่โพลงทำให้เกลือมีความเค็มสูง ในการตกผลึกของเกลือ เมื่อน้ำเข้มข้น 20-22 ดีกรีโบเม่ จะได้เกลือจืด (Calcium) มีลักษณะเหมือนทรายเม็ดใหญ่ ๆ ตกจมปนกับดิน ชาวนาจะเก็บเกลือจืด เมื่อเลิกทำนาเกลือแล้ว เมื่อความเข้มข้นสูง 25-27 ดีกรีโบเม่ เป็นระยะที่เกลือเค็มตกมากที่สุด ถ้าความเข้มข้นเกิน 27 ดีกรีโบเม่ จะเกิดการตกผลึกของดีเกลือ (Magnesium) ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดความชื้น ดีเกลือจะตกผลึกในช่วงกลางคืนเมื่อน้ำในนาปลงเย็น


เกลือสมุทรหรือเกลือแกง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า โซเดียมคลอไรด์ เกิดจากกระบวนการทำนาเกลือ โดยอาศัยไอระเหยของน้ำทะเล จากพื้นที่การทำนาเกลือที่มีความเหมาะสม คือ อยู่ใกล้ทะเล และ มีพื้นที่ต่อเนื่องกัน 30 – 35 ไร่ขึ้นไป เพื่อความสะดวกในการดำนาเกลือ

1. สูบน้ำทะเลมาตากแดดไว้ 15-20 วันเพื่อให้น้ำระเหยเพิ่มปริมาณความเข้มข้นของน้ำเกลือ

2. วัดด้วยปรอท เพื่อให้มีค่าความถ่วงจำเพาะที่น้ำเกลือพร้อมจะตกผลึกเป็นเกลือ ประมาณ 25 -35 ดีกรี

3. ระบายน้ำเกลือเข้าสู่นาปลง ซึ่งจะมีการกลิ้งดินเพื่อปรับพื้นที่ให้เรียบ ระหว่างที่รอให้ตกผลึก น้ำเกลือจะมีความถ่วงจำเพาะเพิ่มมากขึ้น ระหว่างนี้ อาจจะมีแมกนีเซียมคลอไรด์ หรือแมกนีเซียมซัลเฟต ที่ทำให้เกลือแกงไม่บริสุทธิ์แลมีคุณภาพต่ำ จึงต้องระบายน้ำเข้าสู่นาปลงสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ความถ่วงจำเพาะของน้ำไม่สูงเกินไป

4. จากนั้น 20 วัน เกลือแกงจะตกผลึก จึงสามารถ เก็บผลผลิตได้

เกลือสมุทร เกลืออุปโภคบริโภค